top of page
1. ) พุทธประวัติ  1   ภาพพุทธประวัติโดย อาจารย์กฤษณะ สุริยกานต์ จากเพจ"พระพุทธเจ้า"  รวม 33 ภาพ
2
1
3
4
5
7
6
9
8
10
11
12
13
14
15
16
17
19
18
20
21
22
23
24
25
26
27
28
30
31
32
33
34

ภาพพุทธประวัติโดย อาจารย์กฤษณะ สุริยกานต์ จากเพจ "พระพุทธเจ้า"

ชีวประวัติ ของ พระพุทธเจ้า ตั้งแต่ ตรัสรู้ถึง ปรินิพพานเป็น ระยะเวลา 45 พรรษา พระองค์ จาริกไปยังแว่นแคว้นต่างๆ ใน ชมพูทวีป ตอนเหนือ เพื่อ เผยแผ่ พระธรรม คำสอน ของ พระองค์ พร้อมทั้ง อบรม สาวก ตั้งพุทธ บริษัท ขึ้นอย่าง มั่งคั่ง ยากที่จะ เรียงลำดับ ได้ว่า ปีใดพระองค์ เสด็จไป ณ ที่ใด และ ทรง สั่งสอน อะไรบ้าง เท่าที่นักวิจารณ์ ได้พยายามวิจัย ไว้พอจะ เรียบเรียงได้ตาม ช่วงการ เข้าพรรษา ของ พระองค์ ในที่ต่างๆ ดังต่อไปนี้

พรรษาที่ 1 ตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์ ณ คืนวันเพ็ญ เดือน วิสาขะ (กลางเดือน 6) 2 เดือนต่อมา คือ วันเพ็ญ เดือน อาสาฬหะ (กลางเดือน 8) ทรง เทศนา โปรด เบญจวัคคีย์ (คณะ 5 คน) ที่ป่า อิสิปตนะ มฤค ทายวัน ด้วย ธรรม จักกัปป วัตนสูนร ต่อมาอีก 5 วัน ทรง เทศนาโปรด เบญจวัคคีย์ ด้วย อนัตต ลักขณสูตร วันต่อมา ได้ พระยสเป็นสาวก ทรง จำพรรษา ที่เมือง พาราณสี แคว้นกาสี (ปัจจุบัน อยู่ใน รัฐอุตร ประเทศ) 

พรรษาที่ 2 เสด็จ เสนานิคม ในตำบล อุรุเวล กัสสปะ นทีกัสสปะ คยากัสสปะ กับศิษย์ 1000 คน ตรัสอาทิตต ปริยาย สูตรที่ คยาสีสะ เสด็จราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ กษัตริย์เสนิยะ พิมพสาร ทรงถวาย สวนเวฬุวัน แต่ พระสงฆ์ ได้ สารีบุตร และ โมคคัลลานะ เป็น สาวก อีก 2 เดือนต่อมา เสด็จ กบิลพัสดุ์ ทรง พำนัก ที่ นิโครธารามได้ สาวก มากมาย เช่น นันทะ ราหุล อานนท์ อุบาลี เทวทัต และ พระญาติอื่นๆ อนาถ ปิณฑิกะ อาราธนา สู่ กรุง สาวัตถี แห่ง แคว้น โกศล ถวายสวน เชตะวัน แด่ คณะสงฆ์ ทรงจำ พรรษา ที่นี่
พรรษาที่ 3 นางวิสาขาถวายบุพพาราม ณ กรุงสาวัตถี ทรงจำพรรษาที่นี่
พรรษาที่ 4 ทรงจำพรรษาที่เวฬุวัน ณ กรุงราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ
พรรษาที่ 5 โปรด พระราช บิดา จน บรรลุ อรหัตผล ทรง ไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทระหว่าง พระญาติ ฝ่ายสักกะ กับ พระญาติ ฝ่ายโกลิยะ เกี่ยวกับ การใช้น้ำ ในแม่น้ำโรหินี ทรง บวช พระนาง ปชาบดี โคตมี และ คณะ เป็น ภิกษุณี

พรรษาที่ 6 ทรง แสดง ยมก ปาฎิหาริย์ ในกรุง สาวัตถี ทรง จำพรรษา บนภูเขามังกลุ บรรพต
พรรษาที่ 7 ทรง เทศนา และ จำพรรษา ที่กรุง สาวัตถี ระหว่าง จำพรรษา เสด็จขึ้นสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ โปรด พระมารดา ด้วย พระอภิธรรม
พรรษาที่ 8 ทรง เทศนา ใน แคว้น ภัคคะ ทรง จำพรรษา ในสวน เภสกลาวัน
พรรษาที่ 9 ทรง เทศนา ใน แคว้น โกสัมพี
พรรษาที่ 10 คณะสงฆ์ แห่ง โกสัมพี แตกแยก อย่าง รุนแรง ทรงตักเตือนไม่เชื่อฟัง จึงเสด็จไป ประทับ และ จำพรรษา ในป่า ปาลิเลยยกะ ช้าง เชือกหนึ่ง มา เฝ้าพิทักษ์ และ รับใช้ ตลอดเวลา
พรรษาที่ 11 เสด็จ กรุงสาวัตถี คณะสงฆ์ แห่ง โกสัมพี ปรองดองกั นได้ ทรงจำพรรษาใน หมู่บ้าน พราหมณ์ชื่อ เอกนาลา
พรรษาที่ 12 ทรง เทศนา และ จำพรรษา ที่ เวรัญชา เกิด ความอดอยาก รุนแรงพรรษาที่ 13 ทรงเทศนา และ จำพรรษา บน ภูเขา จาลิก บรรพต
พรรษาที่ 14 ทรงเทศนา และ จำพรรษาที่ กรุง สาวัตถึ ราหุลอุปสมบท
พรรษาที่ 15 เสด็จ กรุง กบิลพัสดุ์ สุปปพุทธะถูก แผ่นดินสูบ เพราะ ขัดขวาง ทางผ่าน
พรรษาที่ 16 ทรง เทศนา และ จำพรรษา ที่อาลวี
พรรษาที่ 17 เสด็จ กรุงสาวัตถี กลับ มาอาลวี และ ทรง จำพรรษา ที่ กรุงราชคฤห์พรรษาที่ 18 เสด็จ อาลวี ทรง จำพรรษา บนภูเขา จาลิกบรรพต
พรรษาที่ 19 ทรง เทศนา และ จำพรรษา บนภูเขา จาลิก บรรพต
พรรษาที่ 20 โจรองคุลีมาล กลับใจ เป็นส าวก ทรง แต่งตั้ง ให้ พระอานนท์ รับใช้ใกล้ชิด ตลอดกาล ทรงจำพรรษาที่ กรุงราชคฤห์ ทรงเริ่ม บัญญัติ พระวินัย

พรรษาที่ 21-44 ทรงยึด เอา เชตะวัน และ บุพพาราม ใน กรุงราชคฤห์ เป็น ศูนย์เผยแผ่ และ ที่ประทับ จำพรรษา เสด็จพร้อม สาวก ออก เทศนาโปรดเวไนยสัตว์ ตามแว่น แคว้น ต่างๆ โดยรอบ
พรรษาที่ 45 และ สุดท้าย ปรากฎ ใน มหา ปรินิพพาน สูตร มหาสุทัสนสูตร และชนวสภสูตร ความว่า พระเทวทัต ปองร้าย พระพุทธเจ้า บริเวณ เขา คิชฌกูฎ ใกล้ กรุงราชคฤห์ ถึงกับ พระบาท ห้อโลหิต ทรง ได้รับ การบำบัด จาก หมอชีวก วัสสการ เข้าเผ้า เสด็จ อัมพลัฎฐิกา นาลันทา และ ปาฎลิคาม ตาม ลำดับ ทรงข้ามแม่น้ำ คงคา ที่ โตมดิตถ์ เสด็จต่อ ไปยัง โกฎิคาม นาทิคาม และ เวสาลี ทรงพำนักใน สวนของ นางคณิกา อัมพปาลี เสด็จ จำพรรษาที่เวฬุวัน ทรงเริ่ม ประชวร และ 3 เดือน ต่อมา เสด็จสู่ ปรินิพพาน ในเมือง กุสินารา แห่ง แคว้น มัลละ

เพลงพระรัตนตรัย กับ ภาพพุทธประวัติ ผลงานเพื่อพระพุทธศาสนาขอ้งน้องโอแกน กฤตบุญ ถกลสาครรัตน์ ชั้น ป 6 ในโอกาสวันวิสาขบูชา                                                                                                                                                        

โดย เครดิต เป็นของ ภาพพุทธประวัติโดย อาจารย์กฤษณะ สุริยกานต์ จากเพจ "พระพุทธเจ้า " เพลงพระรัตนตรัย ขับร้องโดย คุณสุเทพ วงศ์กำแหง

คำร้องโดยครูชาลี อินทรวิจิตร ทำนองโดยครูสมาน กาญจนผลิน

2. พุทธประวัติ  2   ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" จากเพจ "มูลนิธิพุทธคยา" รวม 18 ภาพ
13230259_1009001605844096_8564373465130932730_n
13230332_1009001602510763_4831582714782166485_n
13239372_1009001662510757_7940031415469628284_n
13226631_1009001665844090_6646807566770236010_n
13237714_1009001689177421_7955749201307672060_n
1936218_1009001692510754_2494650432855885032_n
13233161_1009001715844085_5620760685646373595_n
13240500_1009001722510751_1434174457743641984_n
13259993_1009001769177413_8947952578995993925_n
13245270_1009001755844081_7395506825099782720_n
13263819_1009001785844078_1926349418810995154_n
13241206_1009001792510744_4491594256837076864_n
13233130_1009001829177407_759848346798519409_n
13221758_1009001832510740_6122698384427563983_n
13240706_1009001875844069_7516757997569490229_n
13269271_1009001885844068_723978787543920593_n
13240655_1009001915844065_1434154192523335402_n
13240780_1009001922510731_4322158463049848063_n

ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" จากเพจ "มูลนิธิพุทธคยา"

 

ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสาขปุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน ๗
ความสำคัญ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง ๓ คราวคือ
๑. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ เมื่อเช้าวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอ ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี
๒. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี หลังจากออกผนวชได้ ๖ ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย
๓. หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศพระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์ ๔๕ ปี พระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง ๓ เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๖ ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญ เช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิตได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ ของพระองค์ท่าน ผู้เป็นดวงประทีปของโลก

เพลงพระรัตนตรัย กับ ภาพพุทธประวัติ ผลงานเพื่อพระพุทธศาสนาของน้องโอปอ ในโอกาสวันวิสาขบูชา โดย เครดิต เป็นของ เพจ "มูลนิธิพุทธตยา "                                                                                                                                      

โดย เครดิต เป็นของ เพจ "พระพุทธเจ้า " เพลงพระรัตนตรัย ขับร้องโดย คุณสุเทพ วงศ์กำแหง

คำร้องโดยครูชาลี อินทรวิจิตร ทำนองโดยครูสมาน กาญจนผลิน

3.)  พุทธคยา   Bodh Gaya หรือ Mahabodhi Temple  รวม 50 ภาพ
ภาพเขียนมหาโพธิเจดีย์ โดย ชาร์ลส์ ดอยล์ เมื่อ พ.ศ
พระมห��าโพธิเจดีย์ก่อนบูรณะ ถ่ายเมื่อ พ.ศ
Mahabodhi Temple
พระแท่นวัชรอาสน์ใต้ร่มอัสสัตถพฤกษ์ในพุทธคยา (อุรุเวลาเสนานิคม) ที่พระพุทธองค์ประทับนั่ง
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เหนือพระแท่นวัชรอาสนพุทธบัลลังก์ สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
พระพุทธรูป พระพุทธเมตตา ในมหาโพธิเจดีย์ สร้างในสมัยปาละด้วยหินแกรนิตสีดำ มีอายุกว่า 1,400 ปี_
พระสงฆ์สวดมนต์รอบปริมณฑลตรัสรู้ในพุทธคยา
800 พระสงฆ์ธิเบตทำพิธีสวดมนต์ในปริมณฑลพุทธคยา รัฐพิหาร อินเดีย
ครื่องพุทธบูชาทองคำของพระเจ้าหุวิชกะ (กษัตริย์ผู้สร้างมหาโพธิเจดีย์) ที่พบในพุทธคยา
at the entrance to the big Buddha statue in Bodhgaya
002
248px-Mahabodhitemple
15770_1593643657564485_2580602808508910254_n
11227040_1593643640897820_6740323877133648811_n
flowers-1024x958
1404118175-Yu001f-o
11836633_1601036703491847_1484100064783748632_n
11692485_1592225254372992_3344732608473132939_n
11060094_1594598144135703_6479291795859422559_n
10404165_1455044824757703_3770448034066664441_n
P1000572
IMG_0001
e0b982e0b884e0b899e0b895e0b989e0b899e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8a8e0b8a3e0b8b5e0b8a1e0b8abe0b8b2e0b982e0b8
e0b89ee0b8a3e0b8b0e0b980e0b888e0b894e0b8b5e0b8a2e0b98ce0b89ee0b8b8e0b897e0b884e0b8a2e0b8b2
images
80-foot-Buddha-Statue
picture_india3
P5028148
images
1909674_801011660021865_132273648907938781_n
1310_801011696688528_4445396830273139311_n
10419459_801011740021857_5774518414297281980_n
BanHeader
10534738_480486525387121_2564154591314191727_n
10492463_479054182197022_1310772057976073136_n
10464037_479053302197110_4384969604788814133_n
10409549_479054488863658_5449644521049880828_n
11822776_1598372337091617_5758887116849690977_n
11267855_1593302417598609_6093769419474414414_n
10689680_1489832434612275_1539454421848675011_n
10606302_1486898668238985_3600696054020626140_n
10689469_1486832954912223_2736170374695852266_n
001
10454295_1488477648081087_5033643060915744475_n
19923_0
006-22
IMG_20160420_073531
IMG_20160420_073939
IMG_20160420_073903
IMG_20160420_073918

 "พุทธคยา" จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พุทธคยา (บาลี: พุทฺธคยา, อังกฤษ: Bodh Gaya, Mahabodhi Temple, ฮินดี: बोधगया) คือคำเรียกกลุ่มพุทธสถานสำคัญใน อำเภอคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นพุทธสถานที่มีความสำคัญที่สุด 1 ใน 4 แห่ง ของชาวพุทธ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของสถานที่ตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธสังเวชนียสถานที่มีความสำคัญที่สุดของชาวพุทธทั่วโลก ปัจจุบันบริเวณพุทธศาสนสถานอันเป็นที่ตั้งของสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วัดมหาโพธิ อยู่ในความดูแลของคณะกรรมการร่วม พุทธ-ฮินดู

พุทธคยา ปัจจุบันตั้งอยู่ด้านตะวันตกของแม่น้ำเนรัญชรา ไกลจากฝั่งแม่น้ำประมาณ 350 เมตร (นับจากพระแท่นวัชรอาสน์) พุทธคยามีสัญลักษณ์ที่สำคัญคือองค์เจดีย์สี่เหลี่ยมที่สูงใหญ่ โดยสูงถึง 51 เมตร ฐานวัดโดยรอบได้ 121.29 เมตร ล้อมรอบด้วยโบราณวัตถุ โบราณสถานสำคัญ เช่น ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระแท่นวัชรอาสน์ ที่ประทับตรัสรู้ และอนิมิสสเจดีย์ เป็นต้น ซึ่งนอกจากพุทธสถานโบราณแล้ว บริเวณโดยรอบพุทธคยายังเป็นที่ตั้งของวัดพุทธนานาชาติ รวมทั้งวัดไทยคือ วัดไทยพุทธคยา

สำหรับชาวพุทธ พุทธคยา นับเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่สำคัญที่สุดของนักแสวงบุญชาวพุทธทั่วโลกที่ต้องการมาสักการะสังเวชนียสถานสำคัญ 1 ใน 4 แห่งของพระพุทธศาสนา โดยในปี พ.ศ. 2545 วัดมหาโพธิ (พุทธคยา) สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม ขององค์การยูเนสโก

ที่ตั้งพุทธคยา

พุทธคยา เป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญที่สุด 1 ใน 4 สังเวชนียสถาน และถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวพุทธทั่วโลก เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของพระพุทธศาสนา เป็นสถานที่เจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเวลากว่าสองพันห้าร้อยปีที่สถานที่แห่งนี้เป็นศูนย์รวมของจุดหมายแสวงบุญของชาวพุทธผู้มีศรัทธาทั่วโลก ปัจจุบันพุทธคยามีชื่อเรียกอีกชื่อว่า วัดมหาโพธิ์ (อังกฤษ: Mahabodhi Temple) ตั้งอยู่ที่จังหวัดคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ห่างจากริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา 350 เมตร อดีตตำบลที่ตั้งพุทธคยาชื่อว่า อุรุเวลาเสนานิคม ปัจจุบันเพี้ยนมาเป็น อุเรล ในปัจจุบันพุทธคยาอยู่ในความดูแลของคณะกรรมการร่วม พุทธ-ฮินดู2 และพุทธคยาได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโก UNESCO ให้เป็นมรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2545

จุดแสวงบุญและสภาพของพุทธคยาในปัจจุบัน

พุทธคยาในปัจจุบันเป็นพื้นที่อยู่ต่ำกว่าพื้นปกติ เหมือนหลุมขนาดใหญ่ เนื่องจากผ่านระยะเวลากว่าสองพันปี ดินและตะกอนจากแม่น้ำได้ทับถมจนพื้นที่ในบริเวณนี้สูงขึ้นกว่าในสมัยพุทธกาลหลายเมตร ทำให้ในปัจจุบันผู้ไปนมัสการสังเวชนียสถานแห่งนี้ต้องเดินลงบันไดกว่าหลายสิบขั้น เพื่อถึงระดับพื้นดินเดิมที่เป็นฐานที่ตั้งพุทธสถานโบราณ

ปัจจุบันพุทธคยาได้รับการบูรณะและมีถาวรวัตถุที่สำคัญ ๆ ที่ชาวพุทธนิยมไปสักการะคือ พระมหาโพธิเจดีย์ อนุสรณ์สถานแห่งการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีลักษณะเป็นเจดีย์ 4 เหลี่ยม สูง 170 ฟุต วัดโดยรอบฐานได้ 121.29 เมตร ภายในประดิษฐาน พระพุทธเมตตา พระพุทธรูปที่รอดจากการถูกทำลายจากพระเจ้าศศางกา พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยแบบศิลปะปาละ เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวพุทธทั่วโลก พระแท่นวัชรอาสน์ แปลว่าพระแท่นมหาบุรุษใจเพชร สร้างด้วยวัสดุหินทรายเป็นรูปหัวเพชรสี่เหลี่ยม กว้าง 4.10 นิ้ว 7.6 นิ้ว หนา 5 นิ้วครึ่ง ประดิษฐานอยู่ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นพระแท่นจำลองขึ้นทับพระแท่นเดิมเพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ณ จุดนี้ ปัจจุบัน ประชาชนและรัฐบาลประเทศศรีลังกาได้อุทิศสร้างกำแพงแก้ว ทำด้วยทองคำแท้ ประดิษฐานรอบต้นพระศรีมหาโพธิ์และพระแท่นวัชรอาสน์ และนอกจากนี้ บริเวณพุทธคยาและโดยรอบยังมีสถานที่สำคัญมากมาย เช่น กลุ่มพระเจดีย์เสวยวิมุตติสุข สระมุจลินทร์ บ้านนางสุชาดา ถ้ำดงคสิริ (สถานที่เจ้าชายสิทธัตถะบำเพ็ญทุกกรกิริยา) วัดพุทธนานาชาติ เป็นต้น

ปัจจุบัน พุทธคยาเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่สำคัญที่สุดของนักแสวงบุญชาวพุทธทั่วโลก และมีผู้แสวงบุญนับล้านคนไปนมัสการมหาพุทธสถานแห่งนี้ ในฐานะเป็นสังเวชนียสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำคัญที่สุดของชาวพุทธ สถานที่ ๆ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพระพุทธศาสนา สถานที่ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแห่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมมหาศาสดาของชาวพุทธทั้งมวล

bottom of page